การสื่อสาร (communication) หมายถึงกระบวนการถ่ายทอดข่าวสาร ข้อมูล ความรู้ ประสบการณ์ ความคิดเห็น ความต้องการจากผู้ส่งสารโดยผ่านสื่อต่าง ๆ ที่อาจเป็นการพูด การเขียน สัญลักษณ์ การแสดงหรือการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ไปยังผู้รับสาร ซึ่งอาจจะใช้กระบวนการสื่อสารที่แตกต่างกันไปตามความเหมาะสม หรือความจำเป็นของตนเองและคู่สื่อสาร โดยมีวัตถุประสงค์ให้เกิดการรับรู้ร่วมกันและมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อกัน บริบททางการสื่อสารที่เหมาะสมเป็น ปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้การสื่อสารสัมฤทธิ์ผล
แต่ปัญหาส่วนใหญ่ที่พบในการสื่อสารสำหรับหลายๆคน
รวมทั้งตัวดิฉันเอง คือจะทำอย่างไรให้การสื่อสารนั้นทำให้ผู้อื่นหรือผู้รับสารเข้าใจในเนื้อความที่ต้องการอธิบาย
หรือแม้แต่บางครั้งเข้าใจในเนื้องานบางอย่างแล้วต้องการอธิบายออกมาเป็นคำพูดให้ผู้อื่นเข้าใจหรือเห็นภาพด้วย
บ้างครั้งก็ถือเป็นเรื่องที่ยากอยู่เหมือนกัน แต่ปัญหาเหล่านี้ก็สามารถแก้ไขได้โดยต้องทำความเข้าใจในสิ่งที่จะสื่อให้ผู้อื่นฟังนั้นให้ละเอียดรอบคอบเสียก่อน
เมื่อเข้าใจอย่างละเอียดลึกซึ้งแล้วก็จะสามารถนึกประมวลออกมาเป็นลำดับขั้นตอนได้และสามารถอธิบายหรือสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจได้ชัดเจนและง่ายขึ้น
ดังนั้นการสื่อสารโดยการพูดก็มีความสำคัญอย่างยิ่งที่ต้องฝึกฝนให้เกิดความเชี่ยวชาญเพื่อที่จะใช้สื่อสารกับผู้อื่นให้ได้เนื้อสารที่ถูกต้องและชัดเจนมากที่สุด
เพราะบางครั้งถ้าพูดผิดหรือเพี้ยนไปก็อาจทำให้ความหมายเปลี่ยนไปได้
เช่นดิฉันเป็นนักฟิสิกส์ถ้าพูดความหมายของตัวแปรทางฟิสิกส์ผิดก็จะทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนของสมการได้เป็นต้น
การพูดไม่สำคัญอย่างเดียว การเขียนก็มีความสำคัญด้วยเพราะการเขียนต้องคำนึงถึงหลักความถูกต้องไม่ใช่นำภาษาที่พูดมาเขียนได้เลย แต่ต้องมีการกลั่นกรองนำภาษาพูดมาเขียนให้เป็นภาษาเขียนอีกครั้งเพื่อที่ให้ผู้อ่าน อ่านแล้วเข้าใจเพราะการเขียนเป็นการอธิบายให้ผู้รับสารเข้าใจผ่านตัวหนังสือ
ซึ่งจะแตกต่างกับการพูด เพราะการพูดนั้นอาจจะมีท่าทางประกอบมีการปฏิสัมพันธ์
มีการโต้ตอบกันช่วยให้การสื่อสารง่ายขึ้น แต่การเขียนนั้นทำอย่างไรจะทำให้ผู้อ่าน
อ่านแล้วสามารถนึกภาพตามในสิ่งที่ผู้เขียนต้องการได้ ดังนั้นก่อนที่จะเขียนก็ควรศึกษารายละเอียดของเนื้อสารให้ถี่ถ้วนด้วยเช่นกัน
และต้องเขียนให้ถูกต้องเพื่อผู้อ่าน อ่านแล้วเกิดความน่าเชื่อถือ
ซึ่งเมื่อเรามีทักษะในการพูดและการเขียนดีแล้วในการพูดเพื่อการนำเสนองานวิจัยหรือเขียนเล่มงานวิจัยก็ไม่ใช้อุปสรรคที่น่ากลัวเลย ยกตัวอย่างเช่น เราทำการวิจัยเกี่ยวกับการทดลอง ผู้ทดลองต้องเป็นผู้ที่ศึกษารายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับตัวแปรต่างๆที่ใช้ทดลองอย่างละเอียด และเข้าใจในลำดับการทดลองของตนเองเป็นอย่างดีื เข้าใจถึงปัญหาที่ได้มาซึ่งผลคำตอบต่างๆ เมื่อถึงเวลาที่ต้องนำเสนองานวิจัย ผู้ทำวิจัยจะต้องมีความพร้อมในการพูดลำดับขั้นตอนของการทดลองต่างๆ เพื่อสื่อสารให้ผู้ฟังที่อาจจะไม่มีความรู้ในเรื่องที่เราต้องการสื่อสาร ให้เิกิดความเข้าใจมาที่สุด แต่บ้างครั้งการนำเสนองานต่อหน้าคณะกรรมการก็อาจทำให้เิกิดความตื่นเต้น อาจทำให้พูดผิดพูดถูก เราจึงควรแก้ปัญหาโดยการฝึกซ้อมพูดให้เกิดความเคยชิน ให้เรียงลำดับได้ว่าต่อไปจะพูดถึงเรื่องใด เพื่อเวลานำเสนอจะได้ดูมีความน่าเชื่อถือ และการเขียนเล่มงานวิจัยก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะเป็นการเขียนให้ผู้อ่านเข้าใจถึงสิ่งที่เรากำลังศึกษา ควรเขียนให้ถูกต้องตรงตามเนื้อหา ควรมีการตรวจตรารายละเอียดต่างๆให้รอบคอบและแม่นยำ
ซึ่งสิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดสื่อให้เห็นว่าทั้้งการพูดและการเขียนมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการใช้สื่อสารไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารในชีวิตประจำวันหรือการสื่อสารทางด้านงานวิจัย เพราะถ้าพูดดีเขียนถูกต้องครบถ้วนก็จะทำให้งานวิจัยของเรามีคุณภาพดี น่าเชื่อถือ