วันศุกร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ประชาคมอาเซียนส่งผลกระทบต่อการจัดการศึกษาของไทยและต่อตัวเราอย่างไร

อาเซียน...อาเซียน...อาเซียน  

ใครๆก็เริ่มพูดถึงอาเซียน ขนาดนายกของไทยยังบอกเด็กให้ นำพาไทยสู่อาเซียน..(โยว่.โยว่ๆ)

ถ้าเป็นเช่นนี้แล้วเราควรมาทำความรู้จักกับประชาคมอาเซียนกันดีกว่า เพื่อวันข้างหน ้าเราจะได้มีเพื่อนมากมายภายใต้อาเซียนเดียวกัน 
          ประชาคมอาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations : ASEAN) เป็นการรวมกลุ่มกันของประเทศในแถบเอเชีย 10 ประเทศด้วยกันคือ ไทย  สิงคโปร์  อินโดเนเซีย  มาเลเซีย  ฟิลิปปินส์  บรูไน เวียตนาม  ลาว พม่า และกัพูชา ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อ 
1. ส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ และการบริหาร
2. ส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงส่วนภูมิภาค
3. เสริมสร้างความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจพัฒนาการทางวัฒนธรรมในภูมิภาค
4. ส่งเสริมให้ประชาชนในอาเซียนมีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดี
5.ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในรูปของการฝึกอบรมและการวิจัย และส่งเสริมการศึกษาด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
6. เพิ่มประสิทธิภาพของการเกษตรและอุตสาหกรรมการขยายการค้าตลอดจนการปรับปรุงการขนส่งและการคมนาคม
7.เสริมสร้างความร่วมมืออาเซียนกับประเทศภายนอกองค์การความร่วมมือแห่งภูมิภาคอื่นๆ และองค์การระหว่างประเทศ
          จาก ข้างต้นเราพอจะทราบที่มาและวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งประชาคมอาเซียนกัน คร่าวๆแล้ว เราลองมาดูการเตรียมความพร้อมของประเทศไทยที่จะรองรับกับประชาคมอาเซียนกันบ้าง แต่ในที่จะกล่าวถึงการเตรียมความพร้อมของการศึกษาไทยในระดับบัณฑิตศึกษา 
         สำหรับการเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนนั้น ประเทศไทยในฐานะที่เป็นผู้นำในการก่อตั้งสมาคมอาเซียน มีศักยภาพในการเป็นแกนนำในการสร้างประชาคมอาเซียนให้เข้มแข็ง จึงได้มีการเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวเข้าสู่การเป็นประชาอาเซียน โดยจะมุ่งเน้นเรื่องการศึกษา ที่จะมีบทบาทสำคัญที่จะส่งเสริมให้ประชาคมด้านอื่นๆ ให้มีความเข้มแข็ง เนื่องจากการศึกษาเป็นรากฐานของการพัฒนาในทุกๆด้าน และจะมีการส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านอาเซียนศึกษา เป็นศูนย์การเรียนรู้ด้านศาสนาและวัฒนธรรม เพื่อขับเคลื่อนประชาคมอาเซียนด้วยการศึกษา ด้วยการสร้างความเข้าใจในเรื่องเกี่ยวกับเพื่อนบ้านในกลุ่มประเทศอาเซียนเรียนการสอนภาษาต่างระเทศเพื่อพัฒนาการติดต่อสื่อสารระหว่างกันในประชาคมอาเซียน แต่ดิฉันคิดว่านอกจากภาษาอังกฤษแล้ว ภาษาที่เป็นภาษาราชการของประเทศสมาชิกประชาคมอาเซียนก็จำเป็นต่อการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา เช่นกัน เพราะเมื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน จะมีการเปิดเสรีในนด้านต่างๆมากมายไม่ว่าจะเป็น การเปิดเสรีในวิชาชีพต่างๆเช่น
  1. วิชาชีพที่เกี่ยวกับการรักษาหรือการแพทย์ (Medical services)
  2. วิชาชีพที่เกี่ยวกับทันตกรรม (dental services)
  3. วิชาชีพพยาบาล (nursing services)
  4. วิชาชีพด้านวิศวกรรม  (engineering services)
  5. วิชาชีพด้านสถาปัตยกรรม (architectural services)
  6. วิชาชีพเกี่ยวกับการสำรวจ หรือนักสำรวจ (surveying qualification)
  7. วิชาชีพบัญชี (accountancy services)
ซึ่งการเปิดเสรีทางวิชาชีพเช่นนี้ก็อาจจำเป็นที่เราจะต้องไปประกอบอาชีพต่างๆในประเทศนั้นและการที่เรามีพื้นฐานทางภาษาอังกฤษที่ดีก็เป็นเรื่องดีแต่ถ้าเราสามารถสื่อสารหรือพูดภาษาที่เป็นภาษาของแต่ละประเทศได้ด้วยก็เป็นเรื่องที่ดีมากเพราะประชาชนบางส่วนอาจไม่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ ซึ่งสิ่งนี้การศึกษาของไทยก็หน้าที่จะสนับสนุนด้วยเพื่อฝึกความพร้อมที่จะรับมือกับประชาคมอาเซียน

 แต่การเตรียมความพร้อมทางด้านการศึกษาเพื่อรับมือกับประชาคมอาเซียนนั้นก็อาจยังส่งผลกระทบต่างๆอยู่บ้าง เช่นการศึกษาของโลก มีการเปลี่ยนแปลง เช่นนักศึกษาส่วนใหญ่ในอนาคตอาจต้องการศึกษาวิชาชีพที่เปิดเสรีทางอาเซียน ซึ่งการสร้างบัณฑิตให้สามารถแข่งขันได้ใน ASEAN เพิ่มโอกาสในการทำงาน ไม่เช่นนั้น จะถูกแย่งงานเพราะเกิดการเคลื่อนย้ายแรงงาน/บริการอย่างเสรี  ต้องเตรียมการรองรับผลกระทบนี้อย่างเร่งด่วน
          ส่วนผลกระทบที่เกิดกับตัวดิฉันในการเปิดประชาคมอาเซียนคือ รายวิชาที่เรียนจะเน้นเรียนเป็นภาษาอังกฤษเพื่อให้สามารถสื่อสารและทำความเข้าใจเป็นภาษาอังกฤษได้ ยกตัวอย่างเช่นรายวิชาสัมมนาซึ่งเป็นรายวิชาที่เป็นการนำเสนองาน ทางสาขาวิชาจึงได้ให้ใช้ภาษาอังกฤษในการนำเสนอซึ้งทั้งนี้ก็ทำให้ดิฉันต้องทำการปรับตัวกับภาษาอังกฤษมากเหมือนกัน และอีกอย่างที่ดิฉันคิดว่าหน้าจะมีผลกระทบกับตัวดิฉันในอนาคตกันใกล้ก็คือ การเปิดเสรีทางด้านวิชาชีพแต่เนื่องจากวิชาชีพที่ดิฉันได้ศึกษาอยู่นะขณะนี้ไม่ได้จัดอยู่ในวิชาชีพที่เปิดเสรีทางอาเซียนแต่ดิฉันก็หวังว่าในอนาคตอาชีพครูฟิสิกส์ของดิฉันก็อาจถูกเปิดกว้างในประชาคมอาเซียนเช่นกัน

วันเสาร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

"แรกเริ่มรู้จักเพียงทักทาย นานวันไปรู้ใจกลายเป็นเพื่อนกัน"

      การอยู่ร่วมกันในสังคมนั้นต้องมีการทำความรู้จักกันเพราะคนเราคงอยู่ลำพังคนเดียวไม่ได้ ต้องมีการพึ่งพาอาศัยกันเราจึงควรมีปฎิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ถึงแม้ครั้งแรกที่รู้จักกันอาจเป็นเพราะเพียงแค่เพื่อทักทายกัน แต่เมื่อระยะเวลาผ่านไปการที่เราได้ทักทายกันนั้นอาจก่อเกิดความสัมพันธ์ที่ดีงามจนเรากลายเป็นเพื่อนที่ดีต่อกัน.... ถ้างั้นเราคงต้องมาทำความรู้จักกันแล้วนะค่ะ

       



      ชื่อ รชตวรรณ กมลเพชร ชื่อเล่น โอ เกิดวันจันทร์ ที่ 22 สิงหาคม 2531 โอเกิดที่เพชรบูรณ์ แต่เดิมทีแล้วพ่อแม่เป็นคนโคราชแต่ไปเปิดร้านขายของชำที่เพชรบูรณ์ จึงย้ายไปอยู่ที่ อ.วิเชียรบุรี( ถิ่นไก่ย่างอร่อยใครไปเพชรบูรณ์แวะชิมกันนะค่ะ) โอมีพี่น้องทั้งหมด 4 คน โอเป็นลูกคนสุดท้อง เลยค่อนข้างมีอายุห่างจากพี่ๆพอสมควรเพราะโอเป็นลูกหลง พ่อกับแม่ไม่คิดว่าจะมีลูกแล้วแต่โอดันมาเกิดพอดี พ่อแม่คิดว่าจะได้ลูกชายเลยปล่อยให้เกิด อิอิ เพราะพี่ๆของโอทั้ง 3คนเป็นผู้หญิง แต่สุดท้ายโอก็เกิดมาเป็นผู้หญิงอีกคนจึงทำให้พี่น้องของโอมีแต่ผู้หญิงหมด


     

 

      

จากที่บ้านโอเป็นร้านขายของชำ จึงทำให้โออยู่กับแวดวงการค้าขายมาตลอดตั้งแต่เด็ก โดยที่จะเห็นพ่อกับแม่ตื้นเช้าไปซื้อของที่ตลาดมาขาย พอกลับมาลูกๆก็จะตื่นขึ้นมาช่วยขายของก่อนไปโรงเรียน พอตอนเย็นกลับจากเรียนก็มาขายของกัน ซึ่งเป็นช่วงที่สนุกสนานมากเพราะครอบครัวอยู่พร้อมหน้ากัน

 

   

       แต่ต่อมาพี่ๆทั้ง 3 คนต้องมาเรียนที่โคราช ทำให้โอต้องอยู่กับพ่อแม่ บางครั้งก็เหงาคิดถึงพี่ๆแต่ก็คิดว่าพี่ๆก็คงอยากอยู่กับพ่อแม่เหมือนกันแต่จำเป็นต้องไปเรียนพี่ๆจะกลับมาทุก เทศกาลทุกคนก็จะอยู่พร้อมหน้ากัน แต่ครอบครัวโอไม่เคยได้ไปเที่ยวเหมือนกับครอบครัวอื่น เพราะที่บ้านขายของถ้าปิดร้านไปเที่ยวก็จะเสียรายได้ฉะนั้นทุกๆเทศกาลครอบครัวโอจะทำอาหารหรือฉลองกันอยู่ที่บ้าน แต่แค่นี้โอก็ว่ามีความสุขมากแล้วที่ได้อยู่ร่วมกัน พอพี่ๆเรียนจบก็ทำงานที่โคราช โอก็ได้ไปเรียนต่อที่ โคราชเหมือนกัน เรียนที่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน สาขาฟิสิกส์ประยุกต์ ทำให้พ่อกับแม่ต้องอยู่บ้านกัน 2 คน คงจะเหงาน่าดูแต่เราทั้ง 4 คนพี่น้องก็หาเวลากลับบ้านกันบ่อยๆไปช่วยพ่อกับแม่ พ่อแม่โอเป็นคนที่เก่งมากขยันอดทนเพื่อที่จะหาสิ่งดีๆให้รู้ และในที่สุดก็ถึงวันที่โอใด้ทำให้พ่อแม่ภูมิใจบ้างแล้วคือวันที่โอ เรียนจบและได้รับปริญญาเมื่อวันที่ 24 พ.ย.2555 ที่ผ่านมานี่เองโออยากจะขอบคุณครอบครัวของโอมากที่ค่อยสนุบสนุนโอมาตลอด จนตอนนี้พ่อแม่ก็ยังต้องทำงานเพื่อให้โอเรียนต่อ เพื่อที่จะมีงานทำที่ดีและมีอนาคตที่มั่นคง ซึ่งโอจะพยายามทำสิ่งที่พ่อแม่ได้หยิบยื่นให้นี้ให้ดีที่สุดให้สมกับการเหนื่อยของพ่อแม่นะค่ะ และนี่ก็เป็นประวัติความเป็นมาของโอคร่าวๆที่น่าจะทำให้เพื่อนๆรู้จักตัวตนของโอมากขึ้นนะค่ะ ^^